ฤกษ์มงคลไหว้ไท้ส่วยเอี๊ย (เสริมดวง แก้ปีชง) ประจำปี พ.ศ. 2557[เขียนโดย อ.ตั้งเต็กค้วง วันที่ 16 มกราคม 2557]
(คำแนะนำ: ผู้สนใจควรอดทนอ่านให้จบ เพื่อให้เกิดความรู้ และ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง) 甲午年太岁爺章词大将军 คำว่า 太歲/太歲爺 “ไท้ส่วย หรือ ไท้ส่วยเอี๊ย” เชื่อว่า ผู้สนใจในเรื่องวิชาโหราศาสตร์จีน หรือ รู้เรื่องเกี่ยวกับประเพณีจีน มักคุ้นเคยกับคำนี้มาไม่มากก็น้อย สำหรับคำว่า 太歲 “ไท้ส่วย” มีความหมายว่า “เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ประจำปี” ซึ่งมีทั้งสิ้น 60 องค์ สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปตามปี 60 กะจื้อ ซึ่งองค์ไท้ส่วย ทั้ง 60 องค์ เกิดจากภูมิปัญญาของชาวจีนในสมัยโบราณ รวมถึงคติความเชื่อ กอปรกับขนบธรรมเนียมประเพณี โดยอาศัยการคำนวณตามหลักวิชาโหราศาสตร์จีน ใช้ราศีบน 十天干 (จั๊บเทียงกัง) มีทั้งสิ้น 10 ตัว มาจับคู่ผสมกับ ราศีล่าง 十二地支 (จั๊บยี่ตี่จี) หรือ 12 นักษัตร ราศีบนพลังเอี้ยงจับคู่กับราศีล่างพลังเอี้ยง ราศีบนพลังอิมจับคู่กับราศีล่างพลังอิม ผสมผสานได้ทั้งสิ้น 60 คู่ เรียกว่า 六十甲子 (ลักจั๊บกะจื้อ) นำมากำหนดเป็นรอบปี 60 ปี หมุนเวียนต่อเนื่องอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพื่ออธิบายการก่อกำเนิดและเชื่อมโยงของกันและกันของทุกสรรพสิ่งตามหลัก 5 ธาตุ ตามหลักวิชาโหราศาสตร์จีน ส่วนองค์ไท้ส่วย ก็ยึดถือเอาบรรดาขุนพล ท่านผู้มีความรู้ความสามารถที่มีคุณงามความดี เป็นที่เคารพนับถือ ในราชวงศ์ต่างๆ ของจีนในสมัยก่อน จำนวน 60 ท่าน มาผสมผสานกับ 六十甲子 (ลักจั๊บกะจื้อ) แล้วจึงยกขึ้นให้เป็นเทพเจ้าผู้คุ้มครองรักษาในแต่ละปีตามหลักเทวคติ โดยกำหนดให้แต่ละองค์อยู่ประจำในแต่ละปี รวมทั้งสิ้น 60 ปี (1 รอบ) 60 องค์ เรียกรวมๆ ว่า 六十太歲星君 (ลักจั๊บไท้ส่วยแชกุง) ประเพณีการไหว้เทพเจ้าไท้ส่วย ไม่ปรากฏหลักฐานระบุแน่ชัดว่า เริ่มมีขึ้นในสมัยใด แต่ชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนก็นิยมไหว้กันมาเป็นร้อยๆ ปี ในที่นี้จะเขียนหลักการไหว้เทพเจ้าไท้ส่วย ตามคัมภีร์ 拜太歲爺祈福真经 (ไป่ไท้ส่วยเอี๊ยคี้ฮกจิงเก็ง) ไม่ถือเอาคตินิยมใหม่ที่มีการเพิ่มเติม และ ดัดแปลง เหมือนในสมัยปัจจุบัน ซึ่งมีการนำเอาหลักการอื่นๆ มาผสมรวมกันมั่วไปหมดทั้ง 刑 (เฮ้ง) 沖 (ชง) 破 (ผั่ว) 害 (ไห่) แล้วเรียกรวมว่า 沖 (ชง) คือ ปะทะ ซึ่งทั้งวัด ทั้งศาลเจ้า ทั้งหมอดู หมอเดา ซินแส่ แม้แต่พระในนิกายเถรวาทก็ยังเอากับเขาด้วย สารพัดออกมาป่าวประกาศโพทนาตามสื่อทั้งทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือ มีการตั้งป้ายตามข้างทางข้างถนน เชื้อชวนให้ไปทำพิธีแก้ชง ทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายกันไปหมด คือ เรียกว่า “ผิดไปจากหลักวิชาที่ถูกต้องแท้จริง” จริงๆ ก็ไม่อยากไปพูดขัดเขา ก็เขาจะหาเงิน หากินกับความกลัว ความไม่รู้ของคน เพราะบางทีการพูดตรงเกินไป เขาก็ทำใจยอมรับไม่ได้ บางทีเขาอาจเสียประโยชน์ อาจทำให้ขุ่นข้องหมองใจ ก็พาลมาโกรธมาเกลียดกัน อันนี้ก็คงต้องปล่อยไป ตัวใครตัวมันก็แล้วกัน แต่ยังไงก็จะบอกหลักการและวิธีการสำหรับการไหว้ที่ถูกต้องไว้ด้วย เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับคนสนใจที่ต้องการไหว้อย่างถูกต้องจริงๆ สำหรับคนที่โดนไท้ส่วยจรประจำปีมาปะทะนั้น ชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนโดยส่วนใหญ่ เชื่อว่า หลังจากการไหว้เทพเจ้าไท้ส่วย แล้วทำพิธี “กาลอ” คือ การนำเอากระดาษเงินกระดาษทองที่ไหว้มาทำการโบกตั้งแต่ส่วนศีรษะลงไปถึงหน้าอก บางแห่งก็โบกตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า หรือ โบกทั้งข้างหน้าข้างหลัง เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์มาปกปักรักษาคุ้มครอง หรือ นำเอาฮู้ขององค์ไท้ส่วยประจำปีนั้นๆ มาพกติดตัว เพื่อจะได้รับความเป็นสิริมงคล อาจสามารถยับยั้งเหตุร้าย และ เรื่องราวเลวร้ายทั้งหลายให้ทุเลาเบาบางไป หรือ เปลี่ยนจากเรื่องร้ายกลับกลายเป็นเรื่องดี ด้วยอำนาจของเทพเจ้าไท้ส่วย ซึ่งสามารถให้คุณและให้โทษได้ อันนี้ว่ากันไปตามความเชื่อ ทั้งนี้ หากจะมีผู้ถามว่า ส่วนความหมายของการปะทะของเทพเจ้าไท้ส่วยในทางวิชาโหราศาสตร์จีน คือ “การปะทะ” หรือ “การชง” จากปีจรที่จรมาปะทะรูปดวง ย่อมส่งผลกระทบให้เกิดเรื่องวุ่นวาย เรื่องร้าย ความเดือดร้อน ทั้งทางกาย และ ทางใจ บางคน..เสียเงินเสียทอง บางคน..เจ็บป่วย บางคน..การงานมีปัญหา บางคน..มีปัญหาเรื่องความรัก บางคน..เกิดอุบัติเหตุ กับอีกสารพัดเรื่องราว หรือ อาจจะไม่มีเรื่องราวเลวร้ายเลยก็เป็นได้ แต่กลับกลายประสบเรื่องดี เรื่องมงคลแทน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของรูปดวงโป๊ยยี่สี่เถียว อันประกอบด้วย ฐานปี ฐานเดือน ฐานวัน ฐานเวลา ของบุคคลนั้นๆ ซึ่งสามารถทำนายไปได้ในหลายๆ ลักษณะ โดยมีประธาน คือ ราศีบนหลักวัน แล้วมีราศีบน และ ราศีล่างของฐานต่างๆ เป็นตัวเชื่อมโยงเหตุการณ์ทั้งหมด เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ขอยกตัวอย่างเช่น
ถ้าจะมีใครก็ตามแต่ทำนายว่า ท่านจะมีปัญหา มีอุบัติเหตุ มีเรื่องเจ็บป่วย เสียเงินเสียทอง กิจการร้านค้ามีปัญหา มีอุปสรรคติดขัด และ อะไรต่อมิอะไรสารพัดก็ตาม ซึ่งเกิดจากไท้ส่วยจรมาปะทะดวงชะตา ต้องถามเขากลับด้วยว่า “หนัก” หรือ “เบา” ถ้าไม่หนัก การไหว้เจ้า...มีผลแน่ๆ แต่ทั้งนี้ต้องไหว้ให้เป็น ต้องไหว้ให้ถูกต้องครบองค์ประกอบ แต่ถ้าเขาทำนายว่า “หนัก” แล้วก็ยังทู่ซี้ไปไหว้เจ้า พอไหว้แล้ว มาบอกว่า เรื่องร้ายสลายหายไป ไม่เกิดเรื่องร้ายจริง ตามที่เขาทำนาย ก็ให้เข้าใจไปเลยว่า คนที่ทำนายดวงมานั้น เขาทำนายไม่ถูกตั้งแต่แรกแล้ว ไม่ใช่เพราะผลของการไปไหว้เจ้า หากเป็นเช่นนั้นจริง ก็คงไม่มีคนดวงตกเลย ทุกคนดวงดีกันหมด เพราะไปไหว้เจ้ามา และ ควรทราบไว้ด้วยว่า ฉะนั้น หากผู้สนใจจะไหว้จริงๆ ก็ต้องรู้ก่อนว่า ไหว้อย่างไร..ให้เกิดผล หากจะอาศัยไหว้ตามประเพณีบ้าง ไหว้ตามที่เขามาพูดออกสื่อต่างๆ เช่น ทีวี วิทยุ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ บ้าง ไหว้ตามชาวบ้านบ้าง เขาพาไหว้ กูก็ไหว้ตาม อย่างนี้เรียกว่า “ไหว้ตามแฟชั่น” ถ้าแบบเพื่อนพาไป ญาติชวนไป แฟนชวนไป เห็นเขาไหว้ กูก็ไหว้ตาม อย่างนี้เรียกว่า “เถรส่องบาตร” คือ ไม่รู้ว่า..ไหว้ไปทำไม ไหว้..เพื่ออะไร หรือ ไหว้..เผื่อกันเหนียว เพราะไม่รู้ว่า ปีนี้จะโดนหนักหรือเบา ตนก็ยังไม่รู้เลย งั้นไหว้ๆ ไปก่อน อันนี้คือความคิดของคนเรา ซึ่งข้าพเจ้าไม่ขอรับรองผล ว่าไหว้แล้วจะเป็นยังไง? แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ไหว้กระมัง... [1] หากปีใด “60 กะจื้อประจำองค์เทพไท้ส่วยทับกับปีเกิดตาม 60 กะจื้อปีเกิดของบุคคลผู้นั้น” จะเรียกว่า 真太歲 (จิงไท้ส่วย) คือ ท่านผู้นั้นอาจพึ่งเกิดในปีนี้ [พ.ศ. 2557/甲午年(กะโง่วนี้)] หรือ ท่านผู้เกิดมาแล้วหนึ่งรอบนักษัตร ซึ่งจะมีอายุ 60 ปี ตามนับไทย และ อายุ 61 ปี ตามนับจีน (ครบรอบปี 60 กะจื้อ คือ 5 รอบ) เรียกว่า “生日 (แซยิก)” แต่คนส่วนใหญ่ออกเสียงเพี้ยนเป็น “แซยิด” ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ใครเป็นคนพาเรียก ฉะนั้น ท่านที่ได้มีโอกาสอ่านบทความนี้ ก็ให้ปรับความรู้ความเข้าใจใหม่ สำหรับท่านที่อายุครบ 1 รอบ 60 ปี ที่เรียกว่า “แซยิก” จะนิยมทำบุญแซยิก คือ ทำบุญฉลองอายุครบ 5 รอบ บ้างก็เรียกเป็นการทำบุญต่ออายุ ให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีอายุยืนยาว ฯลฯ [2] หากปีใด “องค์เทพไท้ส่วยเข้าประทับปีเกิดผู้ใด” จะเรียกว่า 坐太歲 (จ๋อไท้ส่วย) หมายความว่า “ไท้ส่วยมาประทับ” ก็ให้ไหว้รับเอาเทพเจ้าไท้ส่วย เพราะปีนักษัตรของไท้ส่วยมาตรงกับนักษัตรของปีเกิดบุคคลนั้นๆ เพื่อกราบไหว้ขอพร ให้ลดความอึดอัด ติดขัด และ ให้ชีวิต หน้าที่การงาน กิจการ มีความคล่องตัว ราบรื่น ไม่ให้ประสบปัญหาสะดุด เพื่อให้มีความรุ่งเรือง มีความโชคดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง ฯลฯ [3] หากปีใด “องค์เทพไท้ส่วยเข้าปะทะ(ชง)ปีเกิดผู้ใด” จะเรียกว่า 歲破 (ส่วยผั่ว) หมายความว่า “ไท้ส่วยมาปะทะ(ชง)” ก็ให้ไหว้รับเอาเทพเจ้าไท้ส่วย เพื่อกราบไหว้ขอพร ขอความเมตตา ขอให้องค์ไท้ส่วยเมตตาลดผลกระทบ ความวิบัติ ความฉิบหาย อันจะเกิดแก่ สุขภาพร่างกาย ความเจ็บไข้ได้ป่วย หน้าที่การงาน การเงิน และ เรื่องร้ายแรงอื่นๆ อันจะเกิดแก่ชีวิตของตน ตารางปีนักษัตร และ รอบนักษัตรทั้ง 5 ตามระบบ 60 กะจื้อหมายเหตุ: สีชมพู คือ ท่านผู้โดน 真太歲 (จิงไท้ส่วย) หมายความว่า “60 กะจื้อประจำองค์เทพไท้ส่วยทับกับปีเกิดตาม 60 กะจื้อปีเกิดของบุคคลผู้นั้น” คือ ท่านผู้เกิดปี พ.ศ. 2497, 2557 สีแดง คือ ท่านผู้โดน 歲破 (ส่วยผั่ว) หมายความว่า “ไท้ส่วยจรมาปะทะ(ชง)” จะได้รับความวุ่นวาย ฉิบหาย เดือดร้อน ความอึดอัด ติดขัด ไม่สะดวกราบรื่น คือ ท่านผู้เกิดปี พ.ศ. 2467, 2479, 2491, 2503, 2515, 2527, 2539, 2551 สีส้ม คือ ท่านผู้โดน 坐太歲 (จ๋อไท้ส่วย) หมายความว่า “ไท้ส่วยจรมาประทับ” จะได้รับความอึดอัด ติดขัด ไม่สะดวกราบรื่น คือ ท่านผู้เกิดปี พ.ศ. 2473, 2485, 2509, 2521, 2533, 2545 สีฟ้า คือ ปีเกิดที่ไม่ต้องไท้ส่วย ในที่นี้ท่านสามารถไหว้เทพเจ้าไท้ส่วยเพื่อขอพร ขอความเป็นสิริมงคล ขอการส่งเสริม การสนับสนุน จากองค์ไท้ส่วยได้เช่นกัน โดยไม่มีข้อห้าม สำหรับการไหว้เทพเจ้าไท้ส่วยนั้น บางคนอาศัยความสะดวก ชอบแบบ Quick Quick เร็วไว ด่วนจี๋ ก็เดินทางไปไหว้ตามวัดจีน ศาลเจ้า หรือ โรงเจ แม้เดี๋ยวนี้วัดพุทธนิกายเถรวาทก็มี ซึ่งเขามีรูปภาพ/รูปปั้นเทพเจ้าไท้ส่วยประจำปีนั้นๆ ตั้งไว้ พร้อมกับจัดเตรียมของไหว้ไว้ให้ครบ (ตามแบบฉบับของใครของมัน) พอไปถึงก็เสียเงินทำบุญ แล้วก็ ไหว้ ไหว้ ทำกาลอ เขาก็มีคนพาทำ เท่านั้นเป็นอันเสร็จพิธี บางทีตัวคนไปไหว้เองยังไม่รู้เลยว่า อะไรเป็นไร เขาพาทำ เขาบอกเสร็จแล้ว เดินออกมา งง งง ก่งก๊ง ก็ยังมี เอ๊ะ มันยังไง
เรารู้ว่า เทพเจ้าไท้ส่วยที่เสด็จมาในปีนั้นๆ จะมาทางทิศใด ชื่ออะไร เพราะเมื่อเวลาไหว้ จะได้ตั้งโต๊ะไหว้หันหน้าไปถูกทิศ และ ออกชื่อองค์เทพได้ถูกต้อง สำหรับในปี พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) นี้ 甲午年太岁章词大将军 (กะโง่วนี้ไท้ส่วย เจียงซื้อไต่เจียงกุง) ตรงกับ ปีกะโง่ว (ปีม้า) องค์เทพไท้ส่วยชื่อ ท่านเจียงซื้อไต่เจียงกุง เสด็จมาทางทิศใต้ ตรงกับ 165-195 องศา (ช่วงองศานี้ คือ ทิศทางที่ต้องตั้งโต๊ะบูชาหันหน้าไป และ ผู้ที่จะไหว้ต้องหันหน้าไป) ตารางแสดงปีนักษัตร และ องศาที่ครอบคลุม วันที่เหมาะแก่การไหว้เทพเจ้าไท้ส่วยนั้น นิยมไหว้ในวัน 初一 (ชิวอิก) - 十五 (จับโหงว) ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือนแรก (เดือนจีน) แต่จริงๆ สามารถไหว้ได้ตลอดทั้งปี แต่ควรต้องหาฤกษ์ยามที่เป็นมงคล มหามงคลที่เหมาะสมในการไหว้เจ้าขอพร อีกทั้งยังต้องเหมาะสมกับดวงชะตาของผู้ไหว้ด้วย สำหรับฤกษ์ยามมหามงคลที่เหมาะแก่การไหว้เทพเจ้าไท้ส่วยจะคัดเลือกวันมหามงคลให้สัก 2 วัน ซึ่งมีดังต่อไปนี้ ฤกษ์ยามมหามงคลที่ 1
※ ฤกษ์ยามมหามงคลนี้เหมาะสำหรับท่านที่เกิดปี พ.ศ. (ไหว้แล้ว..เกิดผลดี) ※ ฤกษ์ยามมหามงคลนี้เหมาะสำหรับท่านที่เกิดปี พ.ศ. (ไหว้แล้ว..เกิดผลดี) ฤกษ์ยามมหามงคลที่ 2
※ ฤกษ์ยามมหามงคลนี้เหมาะสำหรับท่านที่เกิดปี พ.ศ. (ไหว้แล้ว..เกิดผลดี) ※ ฤกษ์ยามมหามงคลนี้เหมาะสำหรับท่านที่เกิดปี พ.ศ. (ไหว้แล้ว..เกิดผลดี) อธิบายเพิ่มเติม: ความหมายของ “ปีเกิด” ตามปฎิทินจีนอย่างคร่าวๆ จะเริ่มนับตั้งแต่ 4 กุมภาพันธ์ ของปีนั้น ไปจนถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป เช่น
การเตรียมตัวก่อนไหว้ก่อนอื่นต้องสำรวจตรวจตราทิศทางก่อนว่า ทิศใต้ ที่ 165-195 องศา ซึ่งเป็นทิศที่องค์เทพเจ้าไท้ส่วยจะเสด็จมานั้นอยู่ตรงไหนของบ้านตน (ภายนอกบ้าน) เพื่อที่จะได้ตั้งโต๊ะไหว้ และ หันหน้าไปไหว้ให้ถูกทิศ ถูกทาง สำหรับโต๊ะไหว้นั้น ให้ปูผ้าสีขาวลงไปก่อน จึงค่อยปูผ้าสีแดงทับข้างบน แล้วก็ต้องเช็ครายการของไหว้ให้ถูกต้องครบถ้วน (รายการของไหว้ และ แผนผังการตั้งรายการของไหว้ มีอยู่ด้านล่างบทความนี้) ให้ไปหาซื้อตามร้านขายของไหว้เจ้า ถ้าสะดวกก็ไปในแหล่งในย่านคนจีนจะได้ของถูกต้องครบถ้วน บางคนเห็นรายการของไหว้ และ รายละเอียดเกี่ยวกับพิธีกรรม ก็ตกใจ บอกเฮ้ย ไอ้คนเขียนบทความนี้มันมากเกินไปหรือเปล่านี่ ทำไม!!! รายการของไหว้ และ สิ่งที่ต้องเตรียม มันมากมายขนาดนั้น จะหมดเงินเท่าไหร่วะนี่ ทั้งนี้ขอได้โปรดทราบว่า เมื่อไหว้แล้ว..ดี ไหว้แล้ว..เป็นมงคล ก็ไหว้ไปเถอะ ไม่ได้ไหว้ปีละหลายครั้งสักหน่อย ไหว้ปีละครั้งเอง เพราะฉะนั้น ถ้าจะไหวทั้งทีก็ทำให้มันถูกต้องครบถ้วนไปเลย อันนี้ต้องเข้าใจนะ เดี๋ยวจะมาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ คำไหว้องค์เทพไท้ส่วย“ขณะนี้ ปี.....เดือน.....วัน.....เวลา..... ถือว่าวาระนี้ ปีดี เดือนดี วันดี เวลาดี ข้าพเจ้า.....(ออกชื่อนาม-สกุลของตนเอง)และบริวาร ขอตั้งจิตอธิษฐานอัญเชิญองค์เทพไท้ส่วย ทรงพระนามว่า เจียงซื้อไต่เจียงกุง ซึ่งเสด็จมาในทางทิศใต้ โดยท่านเป็นผู้มีมเหศักดิ์ มีฤทธิ์ มีเดช มีอำนาจ มีคุณธรรม มีเมตตาธรรม ขอท่านจงได้เสด็จมารับเครื่องสักการะเซ่นไหว้บวงสรวง อันประกอบด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน ของหอม ผลไม้มงคลทั้ง 5 อาหารเจ ของหวาน น้ำชา กระดาษเงินทอง เครื่องบรรณาการ และ สิ่งมงคลทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า.....และบริวารได้จัดไว้แล้วพร้อมสรรพอย่างบรรจง ********************* เมื่อกล่าวคำไหว้เสร็จแล้ว ก็อธิษฐานขอพรพิเศษเพียงอย่างเดียว ขอในสิ่งที่คิดว่าต้องการที่สุด และ ขอในสิ่งที่เป็นไปได้ จากนั้นก็รอให้ธูปหมดดอก แล้วจึงนำเอากระดาษเงินกระดาษทองมาปัดที่หน้าลงมาถึงคอ จากคอลงมาถึงแขน จากแขนลงไปถึงเท้า ปัดทั้งข้างหน้า และ ข้างหลังของตัวเอง ทำอย่างนี้จนครบ 12 ครั้ง แล้วจึงทำการเหี่ยง (การยกของ 3 ครั้ง เพื่อลาของไหว้) ของไหว้ทั้งหมด แล้วนำกระดาษไหว้ และ กระดาษที่เขียนชื่อของตนและบริวารไปจุดไฟเผา ซึ่งชาวจีนมีความเชื่อว่า เป็นการส่งเครื่องบรรณาการให้แก่องค์เทพเจ้าที่ไหว้นั้น หมายเหตุ!!! ท่านสามารถดาวน์โหลดรูปภาพขององค์เทพไท้ส่วยประจำปีกะโง่ว ทรงพระนามว่า เจียงซื้อไต่เจียงกุง แล้วนำไปอัดใส่กรอบตั้งไว้หน้าโต๊ะไหว้จะเป็นมหามงคลอย่างยิ่ง เมื่อเสร็จพิธีก็อัญเชิญไปตั้งไว้ในสถานที่อันสมควร ให้ถวายน้ำดื่มใส่แก้วตั้งไว้หน้ากรอบรูป เมื่อถึงวันพระจีน วัน 初一(ชิวอิก) - 十五(จับโหงว) หากสามารถถวายพวงมาลัยและส้มสีทองได้จะดีมากๆ ขอเชิญดาวน์โหลดภาพองค์เทพไท้ส่วยประจำปีกะโง่ว >>> คลิ๊กที่นี่
รายการของไหว้ไท้ส่วยเอี๊ย[1] แก้วใส่ข้าวสาร หรือ กระถางธูป มีกิมฮวยปัก 1 คู่ พร้อมติดอั่งติ๋ว หรือ กระดาษแดง [2] แจกันดอกไม้ 1 คู่ (ใช้ดอกไม้สีแดง) [3] เชิงเทียน พร้อมเทียนแดง 1 คู่ใหญ่ (หนัก 1 ชั่ง) [4] น้ำชา-น้ำเปล่า อย่างละ 5 ถ้วย [5] ข้าวสุก ใส่ถ้วยชา 5 ถ้วย [6] ผลไม้ 5 อย่าง 1 ชุด
[7] เจฉ่าย 5 อย่าง 1 ชุด
[8] สาคูน้ำเชื่อม หรือ อี๊ 5 ถ้วย (เอาสาคูเม็ดใหญ่มาต้มให้สุกใส่น้ำแดงเฮลซ์บลูบอย) [9] พุทราเชื่อม 5 ถ้วย [10] ถั่วเขียว 5 ถ้วย [11] ถั่วแดง 5 ถ้วย [12] หมี่เตี๊ยว 5 จาน จานละ 1 ห่อ (สำคัญมาก) [13] น้ำใส่ยอดทับทิม 3 ยอด 1 ขัน หรือ 1 แก้ว [14] ขนมจันอับ 5 อย่าง 1 จาน (ถั่วตัด งาตัด ข้าวพอง ฟักเชื่อม ลูกกวาด) [15] ชุดเครื่องกระดาษเงิน-ทอง ตั่วกิม 12 ชุด หงิ่งเตี่ย 12 ชุด และ เถียบอัญเชิญ (แชเถียบ อั่งเถียบ) [16] เทียงเถ่าจี้ 1 คู่ [17] กิมหงิ่งเต้า 1 คู่ |